วันจันทร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประเทศมาเลเซีย

ประเทศมาเลเซีย (อังกฤษ: Malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 2 ส่วน โดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน


ประเทศมาเลเซีย (malaysia) เป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แบ่งเป็น 2 ส่วนโดยมีทะเลจีนใต้กั้น ส่วนแรกคือ คาบสมุทรมลายู มีพรมแดนทิศเหนือติดประเทศไทย และทิศใต้ติดกับสิงคโปร์ ส่วนที่สองคือ ทางเหนือของเกาะบอร์เนียว มีพรมแดนทิศใต้ติดอินโดนีเซีย และมีพรมแดนล้อมรอบประเทศบรูไน มาเลเซียเป็นสมาชิกก่อตั้งของกลุ่มประเทศอาเซียน



ตราแผ่นดินประเทศมาเลเซีย

ธงชาติประเทศมาเลเซีย


วันอาทิตย์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

กฎเหล็กส่งออกผักผลไม้ไทยไปมาเลเซีย

ผู้ส่งออกไทยอ่วมอีกระลอก หลังมาเลเซียเตรียมออกกฎระเบียบมาตรฐานเกรดบรรจุภัณฑ์และฉลากสินค้าใหม่ต้นปี 2553 กรมวิชาการเกษตรเตือนผู้ประกอบการไทยเร่งปรับตัว รักษาส่วนแบ่งตลาดผักผลไม้สดไทยในมาเลเซียหวั่นโดนจีน เกาหลี ออสเตรเลีย ฮุบตลาดส่งออกผลไม้และผักสดของไทยมูลค่ารวมกว่า 2,000-3,000 ล้านบาทต่อปีวิชา ธิติประเสริฐ ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร กรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ประเทศมาเลเซียได้ออกกฎระเบียบว่าด้วยมาตรฐานขนาด (เกรด) บรรจุภัณฑ์และฉลากสำหรับสินค้าเกษตร ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในเดือนมกราคม 2553 โดยกฎระเบียบดังกล่าวมีสาระสำคัญครอบคลุมการส่งออกและนำเข้าสินค้าเกษตรด้านพืช ได้แก่ผักสด 73 ชนิด ผลไม้สด 56 ชนิด ไม้ตัดดอก 6 ชนิดถั่ว 2 ชนิด มะพร้าว เมล็ดกาแฟ และลำต้นอ้อยสำหรับมาตรฐานบรรจุภัณฑ์ที่ใช้หีบห่อสินค้า มาเลเซียได้กำหนดให้ใช้วัสดุที่สะอาด มีความแข็งแรงสามารถป้องกันการกระแทกที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายระหว่างการลำเลียงและการบรรจุภัณฑ์ต้องไม่เกิน 30 กิโลกรัม/1 บรรจุภัณฑ์และให้บรรจุเฉพาะสินค้าประเภทและมาตรฐานเกรดเดียวกันเท่านั้น กรณีนำบรรจุภัณฑ์เดิมมาใช้ใหม่ต้องลบหรือถอดฉลากเดิมออกก่อนส่วนฉลากสินค้าที่ติดบนบรรจุภัณฑ์ต้องมีขนาดไม่ต่ำกว่า11x7 เซนติเมตร โดยต้องติดไว้ด้านบนหรือด้านข้างของบรรจุภัณฑ์ขนาดตัวอักษรไม่ต่ำกว่า 20 point พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ใหญ่หรือตัวพิมพ์เล็กทั้งหมด และข้อมูลที่ปรากฏบนฉลากต้องมีชื่อที่อยู่ผู้ผลิต ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก ตัวแทนผู้ผลิตหรือผู้จัดจำหน่ายชื่อสามัญสินค้า มาตรฐานเกรด ขนาด ประเทศแหล่งกำเนิดสินค้าและน้ำหนักสุทธิ หากเป็นสินค้านำเข้าต้องพิมพ์ฉลากเป็นภาษามาเลเซียด้วย เพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้กรณีสินค้ามีปัญหา
ทั้งนี้ สินค้าผลไม้สด ผักสด และไม้ตัดดอกที่จะส่งออกไปยังมาเลเซีย จะผ่านขั้นตอนการตรวจสอบมาตรฐานโดยเจ้าหน้าที่ Federal Agricultural Marketing Authority(FAMA) ของมาเลเซีย ตามจุดชายแดน ด่านศุลกากรและท่าเรือขนส่งสินค้าก่อนนำเข้า ซึ่งจะต้องมีค่าธรรมเนียมการตรวจสอบด้วย โดยในปี 2553 หากสินค้าไม่ผ่านการตรวจสอบผู้ส่งออกจะถูกแจ้งเตือน และหลังจากปี 2554 เป็นต้นไปหากไม่ปฏิบัติตาม สินค้าจะถูกปฏิเสธการนำเข้าทันทีและอาจมีโทษตามกฎหมายมาเลเซีย โดยปรับไม่เกิน 1,000 ริงกิตหรือประมาณ 10,000 บาท หรือจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือทั้งจำทั้งปรับเป็นเรื่องน่าวิตกว่ากฎระเบียบฉบับใหม่นี้อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อมูลค่าการส่งออกรวมประมาณปีละ 2,000-3,000ล้านบาท เพราะผู้ประกอบการไทยจะแตกแบกรับภาระต้นทุนที่สูงขึ้น เนื่องจากสินค้าของไทยที่ส่งออกไปมาเลเซียมีลักษณะคละเกรดและบรรจุในลังพลาสติก กล่องกระดาษ และถุงพลาสติกแตกต่างกับสินค้าของคู่แข่งสำคัญในตลาดอย่าง จีน ออสเตรเลียและเกาหลี ซึ่งได้มีการคัดเกรดและบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมอยู่แล้วดังนั้น เพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดผักผลไม้สดไทยในมาเลเซียเอาไว้ โดยเฉพาะมะม่วง ทุเรียน มังคุด ลำไย เงาะ มันสำปะหลังหอมแดง หอมหัวใหญ่ พริกหยวก และพืชผักตระกูลถั่วที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ประกอบการไทยจะต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับมาตรฐานของมาเลเซียเพื่อปกป้องตลาด และยังอาจช่วยผลักดันการส่งออกผักผลไม้สดของไทยไปยังมาเลเซียให้เฟื่องฟูขึ้นถึง 6,000 ล้านบาทได้ภายในปี 2554


วิเคราะห์ SWOT

จดแข็ง
                ประเทศไทยสามารถปลูกผักผลไม้ได้มากมายหลายชนิด สามารถส่งออกไปต่างประเทศได้
จุดอ่อน
                เราควรปรับปรุงด้านการคัดคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์ให้ดูดียิ่งขึ้น
โอกาส
                หากเราสามารถปรับปรุงเรื่องคุณภาพสินค้าและบรรจุภัณฑ์ เราจะสามารถส่งออกสินค้าไปยังมาเลเซียได้มากขึ้น

อุปสรรค
               มีประเทศคู่แข่งที่สามารถปลูกผักผลไม้ และส่งออกได้เหมือนกัน
               ประเทศมาเลเซียสามารถปลูกพืชผักคล้ายกับประเทศไทยได้
                









วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ


          การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ          
ในภาวการณ์แข่งขันปัจจุบันธุรกิจจะต้องแข่งขันในหลายระดับ ทั้งแข่งขันกับคู่แข่งภายในประเทศและแข่งขันกับคู่แข่งจากต่างประเทศ ทั้งคู่แข่งขนาดเล็ก ขนาดกลาง และขนาดใหญ่ ซึ่งภาวการณ์แข่งขันดังนี้เอง ธุรกิจที่มีความสามารถและมีโอกาสในการขยายตลาดออกสู่ต่างประเทศควรจะเริ่มพิจารณาช่องทางและโอกาสในการส่งสินค้า ปัจจัยหลักที่มีอิทธิพลให้ขยายกิจการสู่ต่างประเทศมี 5 ประการดังนี้

 
1. บริษัทคู่แข่งซึ่งเป็นธุรกิจข้ามชาตินำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ดีกว่า หรือมีราคาที่ถูกกว่าเข้าสู่ตลาดท้องถิ่น และธุรกิจสูญเสียส่วนแบ่งทางการตลาดจากตลาดภายในประเทศ ทำให้ธุรกิจจำเป็นจะต้องหาตลาดในประเทศอื่น ๆ ทดแทนยอดขายที่สูญเสียไปจากการแข่งขันภายในประเทศ
 2. ธุรกิจค้นพบว่าตลาดในบางประเทศสามารถทำกำไรให้กับธุรกิจได้มากกว่า ด้วยการกำหนดราคาขายที่สูงกว่าตลาดภายในประเทศ ดังจะเห็นได้ชัดจากธุรกิจในอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์  และเครื่องประดับ 
 3. ธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต มีความจำเป็นที่จะต้องขยายฐานลูกค้าเพื่อให้ปริมาณการผลิตเข้าสู่จุดคุ้มค่าของการผลิต (Economy of Scale) ซึ่งขนาดตลาดภายในประเทศไม่เพียงพอ
4. ธุรกิจต้องการลดภาวะพึ่งพิงจากตลาดภายในประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และการเมืองต่ำไปสู่ประเทศที่มีความมั่นคงทางเศรษฐกิจและการเมืองสูงกว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงของธุรกิจ
5. บ่อยครั้งที่กิจการจะต้องขยายธุรกิจไปสู่ต่างประเทศ เนื่องจากลูกค้าหลักของธุรกิจขยายกิจการไปสู่ต่างประเทศและต้องการการบริการในประเทศนั้น ๆ ด้วย
โดยปรกติแล้ว การเข้าสู่ตลาดต่างประเทศธุรกิจสามารถทำได้  8 วิธี คือ
  1. การส่งออกทางอ้อม (Indirect  Exporting) คือการขยายตลาดผ่านคนกลาง หรือตัวแทนจำหน่ายภายในประเทศ ที่ซื้อสินค้าเพื่อการส่งออก วิธีการดังนี้ จะช่วยลดเงินลงทุนทั้งทางด้านบุคลากรและทรัพยากรอื่น ๆ รวมทั้งลดความเสี่ยงในการเข้าสู่ตลาดที่ผู้ประกอบการขาดความรู้ความเข้าใจในลักษณะตลาด พฤติกรรมผู้บริโภค สภาพทางเศรษฐกิจ กฎหมายและการเมือง ตลอดจนสภาวการณ์แข่งขันและอัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม วิธีการขยายตลาดสู่ต่างประเทศวิธีการนี้มีข้อด้อยตรงที่ธุรกิจไม่สามารถควบคุมเหนือนโยบายการทำธุรกิจของตัวแทนจำหน่าย ซึ่งอาจส่งผลกระทบโดยตรงกับกลยุทธ์ทางการตลาดของกิจการในอนาคต เช่น การวางตำแหน่งตราผลิตภัณฑ์(Brand Positioning) นโยบายราคา เป็นต้น 
  2. การส่งออกทางตรง (Direct Exporting) วิธีการนี้ธุรกิจจะมีแผนกขายระหว่างประเทศ(Exporting Department) ซึ่งแผนกดังกล่าวจะทำหน้าที่รับผิดชอบในการหาลูกค้าหรือตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ วิธีการดังกล่าว ทำให้ธุรกิจจะต้องแบกรับความเสี่ยงเพิ่มมากยิ่งขึ้น  แต่ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็มีอำนาจในการควบคุมนโยบายการทำการตลาดในต่างประเทศมากยิ่งขึ้นเช่นกัน โดยมากกิจการจะใช้วิธีการขยายตลาดด้วยการเข้าร่วมงานแสดงสินค้า  และใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการขายเป็นหลัก
  3. การให้ใบอนุญาต (Licensing) การขยายธุรกิจลักษณะนี้ เจ้าของธุรกิจจะทำหน้าที่ออกใบอนุญาตให้โรงงานอื่นในต่างประเทศ ผลิตสินค้าภายใต้ตราสินค้า สิทธิบัตร หรือกระบวนการผลิตที่เป็นลักษณะเฉพาะของเจ้าของธุรกิจผู้ให้ใบอนุญาต โดยได้รับผลตอบแทนในรูปแบบของสัญญาสัมปทาน ทั้งแบบที่เป็นเงินก้อน หรือผูกพันกับยอดผลิต/จัดจำหน่ายสินค้า การขยายตลาดในลักษณะนี้มีข้อดีในการจำกัดความเสี่ยงของธุรกิจได้ เช่นเดียวกับการส่งออกแบบทางอ้อม แต่ก็ไม่สามารถควบคุมนโยบายทางธุรกิจของผู้รับสัมปทานได้เช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ในกรณีที่สินค้าประสบความสำเร็จธุรกิจมีโอกาสที่จะขยายลูกค้าเพิ่มเติม หรือเข้ามาลงทุนด้วยตัวเองเมื่อหมดระยะเวลาสัมปทาน  
  4. เฟรนไชส์ (Franchising) เป็นรูปแบบการให้สัมปทานเช่นเดียวกับการให้ใบอนุญาต (Licensing) แต่จะมีข้อกำกับนโยบายและรูปแบบการดำเนินธุรกิจระบุควบคู่ไปในข้อสัญญาด้วย ดังนั้น ธุรกิจจะมีอำนาจในการกำหนดบังคับนโยบายทางการตลาดในขณะที่ผู้รับใบอนุญาตแทบจะไม่มีอำนาจในการปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขใด ๆ เลย นอกจากนี้ เฟรนไชส์ยังมีข้อดีเช่นเดียวกับการขยายตลาดแบบการให้ใบอนุญาต(Licensing) อีกด้วย
   5. การจ้างผลิต (Contract  Manufacturing) รูปแบบของการขยายธุรกิจในลักษณะนี้มีข้อดีอยู่ตรงที่เป็นการลดต้นทุนการนำเข้าของสินค้า ซึ่งรวมถึงลดความเสี่ยงของอัตราแลกเปลี่ยนและลดข้อกีดกันทางการค้าในด้านการนำเข้าได้เป็นอย่างดี ในขณะเดียวกัน ธุรกิจก็ใช้เงินลงทุนไม่มาก อย่างไรก็ตามการจ้างผลิตมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการควบคุมคุณภาพการผลิตและกระบวนการผลิตให้เป็นไปตามข้อตกลงทีระบุไว้ในสัญญาเป็นอย่างดี  รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการลักลอบนำสินค้าที่ผลิตเกินจำนวนหรือสินค้าที่ไม่ผ่านมาตรฐานมาจำหน่าย
  6. การร่วมลงทุน (Joint Venture) การลงทุนชนิดนี้เป็นรูปแบบของการไปร่วมลงทุนธุรกิจกับคู่ค้าเจ้าถิ่นในต่างประเทศ ในลักษณะของการถือหุ้นบริษัท ซึ่งธุรกิจจะนำความรู้ความเข้าใจในผลิตภัณฑ์เข้าทำตลาดกับผู้ร่วมลงทุนในท้องถิ่นที่มีความรู้ความเข้าใจในตลาดท้องถิ่น ทั้งด้านพฤติกรรมผู้บริโภค วัฒนธรรมท้องถิ่น นโยบายทางธุรกิจ ซึ่งมีข้อดี คือ ธุรกิจสามารถควบคุมดูแลนโยบายทางการตลาดได้ในระดับหนึ่ง เนื่องจากทั้งธุรกิจและผู้ร่วมลงทุนต่างมีจุดมุ่งหมายสูงสุดเป็นจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การสร้างกำไรสูงสุดให้กับธุรกิจ แต่ถึงกระนั้น นโยบายการทำตลาดอาจจะไม่เป็นไปตามที่ธุรกิจได้คาดหวังไว้ ถ้าหากผู้ร่วมลงทุน ไม่มีนโยบายทางธุรกิจที่สอดคล้องหรือไม่มีศักยภาพที่เท่าเทียมกัน
  7. การซื้อกิจการ (Acquisition) เป็นรูปแบบของการขยายตลาดชนิดควบคุมนโยบายทางธุรกิจได้ในรูปแบบที่รวดเร็วที่สุด ข้อดีของการขยายตลาดแบบนี้ คือ ธุรกิจจะเข้าควบคุมกิจการที่ถูกซื้อและทรัพยากรทั้งหมด ทั้งในด้านโรงงาน โครงสร้างการจัดจำหน่าย ตราสินค้า และบุคคลากร อีกทั้งการเข้าตลาดด้วยวิธีนี้เป็นการลดจำนวนคู่แข่งไปด้วยในตัว ข้อเสียของการขยายตลาดด้วยวิธีนี้ คือ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงควบคู่กับความเสี่ยง โดยเฉพาะความเสี่ยงในเรื่องของการเข้ากันได้ของวัฒนธรรมองค์กรจากบุคคลากร 2 ประเทศ
  8. การลงทุนโดยตรง (Direct Investment) เป็นรูปแบบการขยายธุรกิจที่ธุรกิจจะมีอำนาจควบคุมนโยบายทางธุรกิจสูงที่สุด แต่ในขณะเดียวกัน การลงทุนโดยตรงก็ต้องใช้เงินลงทุนสูงที่สุด และแบกรับความเสี่ยงในทุก ๆ เรื่อง  ธุรกิจมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีความรู้ความเข้าใจในประเทศที่จะเข้าไปลงทุน เป็นอย่างดี ทั้งในแง่ของเศรษฐกิจ สังคม การเมือง ศิลปวัฒนธรรม พฤติกรรมผู้บริโภค และสภาพการแข่งขันของธุรกิจ จึงจะสามารถประสบความสำเร็จในกิจการได้ 


การค้าระหว่างประเทศ
  หมายถึง  การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้ากันระหว่างประเทศต่าง ๆ กัน  ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากแต่ละประเทศมีทรัพยากรไม่เหมือนกัน    ประเทศหนึ่งผลิตสินค้าชนิดหนึ่ง  แต่ผลิตอีกชนิดหนึ่งไม่ได้  จึงจำเป็นต้องต้องนำสินค้าอีกประเทศหนึ่งที่ตนผลิตได้ไปแลกเปลี่ยนกับอีกประเทศหนึ่ง
ประโยชน์ของการค้าระหว่างประเทศ
  • - ปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ของแต่ละประเทศจะถูกใช้ไปในทางการผลิตสินค้าที่ประเทศของตนได้เปรียบในการผลิต ซึ่งเป็นการใช้ทรัพยากรของประเทศไปในทางที่มีประสิทธิภาพให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
  • - ประชากรของแต่ละประเทศ จะได้รับสินค้าและบริการได้มากขึ้นกว่าที่ไม่มีการซื้อการซื้อขายแลกเปลี่ยนกับประเทศอื่น ๆ เลย ซึ่งเป็นการส่งเสริมให้ประชากรมีความเป็นอยู่ดียิ่งขึ้น
  • - ถ้าการสั่งสินค้าออกของประเทศ สามารถส่งออกเป็นจำนวนมากก็จะมีผลกระทบถึงรายได้ของประชากร ซึ่งเป็นผลทำให้เกิดอำนาจซื้อเพิ่มมากขึ้น
  • - สินค้าออกเป็นที่มาของเงินตราต่างประเทศ
  • - สินค้าออกเป็นที่มาของรายได้และภาษีอาการของรัฐ
  • - สินค้าเข้าที่เป็นประเภททุน จะขายเพิ่มในการผลิตและการพัฒนาประเทศ
  • - เมื่อมีประสิทธิภาพในการผลิตสูง ก็จะเป็นผลกระทบในการเพิ่มอำนาจซื้อแก่ประเทศอื่น ๆ ให้สามารถซื้อสินค้าออกของเราได้
ความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่าง
ประเทศ
 ตลาดระหว่างประเทศ

คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ การตลาดระหว่างประเทศจึงเป็นเรื่องที่ซับซ้อนกว่าการตลาดภายในประเทศเป็นอย่างมากดังนั้นธุรกิจจะประสบความสำเร็จในตลาดระหว่างประเทศได้นั้น การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่เพียงแค่การขนส่งสินค้าข้ามพรมแดน การตลาดระหว่างประเทศไม่ใช่แค่การดำเนินการทางการตลาดโดยใช้หลักการตลาดพื้นฐานทั่วไปที่ธุรกิจเคยใช้มาในตลาดภายในประเทศแล้วประสบความสำเร็จ เช่น การใช่ส่วนประสมทางการตลาด
การค้าระหว่างประเทศ

คือ การส่งสินค้าของปะเทศหนึ่งไปขายให้ประเทศอื่นๆ ที่ต้องการซื้อสินค้านั้นๆ เรียกการค้าสิ่งนี้ว่าการส่งออกอีกด้านของการค้าระหว่างประเทศคือ การซื้อสินค้าจากประเทศอื่นๆ ผ่านแดนเข้าประเทศเรียกการค้าสิ่งนี้ว่า การนำเข้า และเรียกผลต่างระหว่างการส่งออกกับการนำเข้านี้ว่า การส่งออกสุทธิ